มฟล. ส่งงานวิจัยเด่นร่วมมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2562 คว้ารางวัลชมเชย ในการนำเสนอผลงานวิจัยภาคนิทรรศการในงาน

หมวดหมู่ข่าว: ข่าวเด่น


            ตามที่ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้นำผลงานวิจัยเด่น จำนวน 14 ผลงาน ในหัวข้อหลัก  Waste to Wealth สำหรับการนำงานวิจัยไปแก้ไขปัญหาและเพิ่มมูลค่า ‘ขยะจากชุมชน’ และ ‘ขยะจากผลผลิตทางการเกษตร’ ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อเข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัยภาคนิทรรศการในงาน ‘มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2562’ (Thailand Research Expo 2019) ระหว่างวันที่ 7-10 เมษายน 2562 ณ ศูนย์ประชุมบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ ราชประสงค์ กรุงเทพฯ ในกลุ่มเรื่อง ‘งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ประเด็นท้าทายทางสังคม’ ดังมีรายชื่อผลงานวิจัย ดังนี้


ขยะชุมชน (Community Waste)
1.    แนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในโครงการขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม : กรณีศึกษาเปรียบเทียบโครงการกำจัดขยะขนาดเล็กในจังหวัดเชียงราย โดย อ.ดร.ปเนต มโนมัยวิบูลย์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์
2.    สวียน เทคโนโลยีชุมชนเพื่อการจัดการขยะอินทรีย์ โดย นางพัทธยาพร อุ่นโรจน์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์
3.    การประเมินผลงานการรณรงค์เพื่อลดปริมาณขยะในจังหวัดเชียงราย (พื้นที่โซนเหนือ พื้นโซนกลาง และพื้นที่โซนตะวันออก) โดย อ.ดร.ปเนต มโนมัยวิบูลย์, นางพัทธยาพร อุ่นโรจน์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ และผศ.ดร.พรรณนิภา ดอกไม้งาม สำนักวิชาวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ
4.     การทบทวนต้นทุนการจัดการขยะและการประเมินตลอดวัฏจักรชีวิตของระบบการจัดการขยะมูลฝอย: หลักการและการดัดแปลงมาใช้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย โดย อ.ดร.ปเนต มโนมัยวิบูลย์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์
5.    โครงการศึกษาวิจัยสร้างฐานข้อมูลและระบบการบริหารจัดการขยะของเสียอันตรายจากชุมชนในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย โดย อ.ดร.ปเนต มโนมัยวิบูลย์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์     และเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพเพื่อชุมชนชีววิถี โดย ผศ.ดร.พรรณนิภา ดอกไม้งาม สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

โดยมีผลิตภัณฑ์นำแสดงดังนี้ เสวียน, โมเดลเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ และโมเดลระบบขยะของเสียอันตราย


ขยะจากผลผลิตทางการเกษตร (Agricultural Waste
)
1.    การพัฒนาบรรจุภัณฑ์คงรูปจากเยื่อชานอ้อยโดยการเสริมแรงด้วยเส้นใยนาโนเซลลูโลส โดย ผศ.ดร.ณัฐกานต์ สร้อยกาบแก้ว สำนักวิชาวิทยาศาสตร์
2.    การพัฒนาวัสดุเชิงประกอบชีวมวลเพื่อประดิษฐ์กล่องอนุบาลนางพญาผึ้ง โดย ผศ.ดร.ณัฐกานต์ สร้อยกาบแก้ว สำนักวิชา    วิทยาศาสตร์
3.    การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจากวัสดุชีวมวล ผศ.ดร.ณัฐกานต์ สร้อยกาบแก้ว สำนักวิชาวิทยาศาสตร์

โดยมีผลิตภัณฑ์นำแสดงดังนี้ 1. ถ้วยชามจากเยื่อชานอ้อย 2. กล่องเลี้ยงผึ้งอัจฉริยะ และ3. โต๊ะ+เก้าอี้จากฟางข้าว

4.    เรื่องกล้วยๆ ที่ไม่กล้วย โดย รศ.ดร.สาโรจน์ รอดคืน และ อ.ดร.วิรงรอง ทองดีสุนทร สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร

โดยมี ผลิตภัณฑ์นำแสดงดังนี้ 1. แป้งกล้วย 2. สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ เป็นส่วนผสมในบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องสำอาง และ 3. ถาดเยื่อขึ้นรูปจากก้านเครือกล้วย

5.    Zero waste in ‘Phulae’ pineapple processing    โดย ผศ.ดร.สุทธิวัลย์ สีทา และ ผศ.ดร.พันธ์สิริ สุทธิลักษณ์ อ.ดร.วิรงรอง ทองดีสุนทร สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร ผลิตภัณฑ์นำแสดง ดังนี้1. สับปะรดพันธุ์ภูแลอบแห้ง และ2. ถาดเยื่อขึ้นรูปจากใยใบสับปะรด
6.    การพัฒนาผลิตภัณฑ์โทนิคเพื่อบำรุงหนังศีรษะและเส้นผมที่มีส่วนประกอบของสารสกัดจากเปลือกกาแฟ โดย ผศ.ดร.นิสากร แซ่วัน สำนักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง
7.    การพัฒนาสารกันแดดจากวัสดุเหลือทิ้งในกระบวนการผลิตกาแฟ ผศ.ดร.นิสากร แซ่วัน สำนักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง
8.    การศึกษาฤทธิ์กระตุ้นการเจริญของเส้นผมและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ป้องกันผมร่วงจากสารสกัดผลเชอรี่กาแฟ โดยผศ.ดร.นิสากร แซ่วัน สำนักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง

โดยมี ผลิตภัณฑ์นำแสดงดังนี้ 1. โทนิคบำรุงเส้นผมจากสารกัดเปลือกกาแฟ และ 2. ครีมกันแดดจากวัสดุเหลือทิ้งในกระบวนการผลิตกาแฟ

             ปรากฏว่า ผลงานวิจัยเด่นของมหาวิทยาลัยได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้ได้รับรางวัลชมเชย พร้อมเกียรติบัตรและเงินรางวัล 10,000 บาท จาก ศาสตราจารย์ นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการ วช. จากหน่วยงานที่เข้าร่วมทั้งหมด 122 หน่วยงาน ซึ่งสร้างขวัญและแรงใจให้กับนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเป็นอย่างยิ่ง ในการที่จะพัฒนางานวิจัยสำหรับการนำไปแก้ไขปัญหาของสังคมและประเทศอย่างยั่งยืน

             พร้อมกันนี้ ทางมหาวิทยาลัยโดยผู้แทน อาจารย์ ดร.จุฑามาศ นิวัฒน์ ผู้ช่วยอธิการบดี ได้ขึ้นรับมอบเกียรติบัตรจาก พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ประธานพิธีเปิดงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2562” ในฐานะหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ในการจัดฝึกอบรม “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก่)  ซึ่งมหาวิทยาลัยจะดำเนินการประสานงานกับ วช. ในการที่จะสร้างและพัฒนาบุคลากรวิจัยและนวัตกรรมของประเทศตลอดไป



  • 2146 ครั้ง