ภายในงานมีการบรรยายเรื่อง ‘บทบาทและทิศทางการดำเนินงานของเครือข่ายศูนย์เรื่องมือวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (TSEN)’ โดย ดร.ณฏฐพล วุฒิพันธุ์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิเคราะห์ทดสอบ สวทช. เลขานุการเครือข่ายศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ประเทศไทย นอกจากนี้มีการแบ่งกิจกรรมออกแบบเป็น 2 ห้อง มีส่วนของการบรรยายนำเสนอเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์มาตรฐานการพัฒนางานวิจัย และอีกส่วนหนึ่งเป็นเวิร์คชอปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กรณีศึกษาหัวข้อ ‘การจัดทำ SOPs มาตรการรบมืออุบัติเหตุและเหตุฉุกเฉินภายในอาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์’
อธิการบดี กล่าวเปิดงานไว้ว่า “ดีใจที่มีการรวมตัวกันเป็นเครือข่าย ทั้งได้แลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานแล้ว การรวมกลุ่มยังทำให้อำนาจต่อรองสูงขึ้น อาจมีผลต่อการตกลงราคาเมื่อจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่หน่วยงานแต่ละแห่งให้ได้ในราคาที่ต่ำลง ช่วยให้ใช้งบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ และขอฝากว่าภารกิจของศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของแต่ละแห่งก็มีส่วนสำคัญให้รัฐประหยัดงบประมาณ จากเดิมในหน่วยงานเดียวกัน แต่ละแผนกต่างมีเครื่องมือซ้ำๆ กัน แต่ไม่ได้ใช้งานตลอดเวลา เมื่อมีศูนย์เครื่องมือฯ คอยบริหารจัดการที่รวมศูนย์ไว้ส่วนกลาง ให้แต่ละหน่วยงานได้ใช้ประโยชน์อย่างทั่วถึง ดูแลรักษาให้อุปกรณ์เครื่องมือพร้อมใช้งานตลอดเวลาเป็นหน้าที่สำคัญ หัวใจของความสำเร็จคือความสามารถในการบริหารจัดการ”