ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว มีทั้งผู้บริหารและนักวิจัยจากสถาบันอุดมศึกษาของไทยและเมียนมา จำนวน 14 แห่งเข้าร่วมการประชุม ได้แก่ University of Mandalay, Myeik University, University of Sittway, Taunggyi University, Kyaing Tong University, Mawlamyine University, University of Yangon, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มหาวิทยาลัยนอร์ท - เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาและมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง รวมถึงผู้สังเกตการณ์จาก the Department of Higher Education, Myanmar, Pathein University และ West Yangon University
การประชุมดังกล่าวขึ้นเป็นปีที่ 2 โดยในปีแรกมีมติให้มหาวิทยาลัยในเมียนมาแต่ละแห่งจัดตั้งสำนักงานกิจการระหว่างประเทศ (IRO; International Relationship Office) ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือทางวิชาการระดับนานาชาติในอนาคตระหว่างไทยและเมียนมา ซึ่งบรรลุผลเป็นไปตามยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อนบ้านของ สกอ. จึงได้จัดให้มีการประชุมเพื่อพบปะเครือข่ายกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้เข้าร่วมเข้าใจบทบาท ภารกิจ และความรับผิดชอบของสำนักงานกิจการระหว่างประเทศ (IRO) รวมถึงความเป็นนานาชาติของมหาวิทยาลัย (IZN; Internationalize at Home) มากยิ่งขึ้น ซึ่งการจัดการสำนักงานกิจการระหว่างประเทศ (IRO) และแผนงานความเป็นนานาชาติของมหาวิทยาลัย (IZN) ที่ดีจะเป็นสะพานเชื่อมที่มีประสิทธิภาพในการสร้างความร่วมมือระดับนานาชาติระหว่างประเทศอย่างลึกซึ้งและยั่งยืน
นอกจากนี้ การประชุมยังเปิดโอกาสให้คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยไทยและเมียนมา หารือเกี่ยวกับหัวข้อการวิจัยและสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยร่วมกันระหว่างสองประเทศด้วย โดยในที่ประชุมเห็นพ้องกันว่าจะจัดการอภิปรายหัวข้อวิจัยในส่วนที่ 2 ณ Mawlamyine University, เมียนมา ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ด้วย
อธิการบดีแม่ฟ้าหลวง กล่าวในพิธีปิดโครงการ โดยได้ขอบคุณสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการที่ให้การสนับสนุนงบประมาณการจัดโครงการ ซึ่งเป็นโอกาสดีที่สถาบันการอุดมศึกษาสองประเทศได้รู้จักและสร้างเครือข่ายระหว่างกันอย่างใกล้ชิดและยั่งยืน เพื่อให้เกิดความเข้าใจโดยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือเพื่อพัฒนาภูมิภาคร่วมกัน ผู้เข้าร่วมงานได้รับข้อมูล แรงบันดาลใจและมุมมองจาดตัวอย่างที่ดีจากการประชุม และเมื่อนำกลับไปปรับใช้กับสถาบันของตนควรอยู่บนพื้นฐานของประโยชน์ที่จะได้รับของแต่ละมหาวิทยาลัย รวมถึงนักศึกษา และการเปิดโอกาสทางการศึกษามากขึ้น ในการนี้ ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ นางสาวลักขณา ดอกเขียว ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์อุดมศึกษาต่างประเทศ ได้เข้าร่วมพิธีปิดด้วย