อาจารย์ มฟล. เข้าร่วมประชุมคลังสมองนานาชาติ กับ 17 นักวิชาการจากทั่วเอเชีย ตามโครงการความร่วมมือทางวิชาการด้านสังคมศาสตร์ระหว่างไทย – จีน

หมวดหมู่ข่าว: ข่าวประชาสัมพันธ์

เมื่อเร็วนี้ ผศ.ดร.ร่มเย็น โกไศยกานนท์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) ได้รับเชิญจาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้เป็นตัวแทนนักวิชาการไทย เนื่องจากเป็นนักวิชาการที่ทำวิจัยเกี่ยวกับจีนในหลากหลายมิติและสังกัดมหาวิทยาลัยที่เปิดการเรียนการสอนและศึกษาเกี่ยวกับจีนอย่างรอบด้าน เพื่อร่วมกับนักวิชาการจากไทยอีกหนึ่งท่านและจาก 17 ประเทศจากทั่วเอเชีย เพื่อร่วมสัมมนา เรื่องการประชุมคลังสมองนานาชาติ ‘การสร้างประชาคมเพื่อเหมายร่วมระหว่างจีนและเพื่อนบ้าน :ข้อท้าทายและอนาคต’ตามโครงการความร่วมมือทางวิชาการด้านสังคมศาสตร์ระหว่างไทย-จีน (NRCT-CASS) หรือ International Think – tank forum on ‘Building the Community of Common Destiny between china its Neighbors: Challenges and Futture’ ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน

ซึ่งการประชุมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อรวบรวมความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนนักวิชาการคลังสมองในภูมิภาคเอเชีย เพื่อสร้างประชาคมคลังสมองแห่งเอเชีย เพื่อผลักดันให้เกิด Community of Common Destinyเพื่อให้เกิดการสื่อสารเชิงนโยบายเกี่ยวกับ Community of Common Destinyที่จีนพยายามผลักดันให้เป็นที่รับรู้และเข้าใจในกลุ่มนักวิชาการคลังมองเอเชีย และเพื่อร่วมแสวงหาวิธีการต่างๆ ในการทำให้ Community of Common Destinyสามารถนำมาใช้ได้จริง

ทั้งนี้ในการประชุม จีนนำเสนอแนวคิดและบริบทในการสร้าง Community of Common Destinyที่ระบุว่าสร้างขึ้นด้วยยู่ในบริบทของโลกาภิวัตน์ ที่ประเทศต่างๆ กำลังเผชิญปัญหาต่างๆ ร่วมกัน จึงต้องมีความร่วมมือ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมในการพัฒนาไปสู่เป้าหมายร่วมเดียวกัน พร้อมย้ำว่าประชาคมนี้จะไม่เป็นเหมือนสมาคมหรือความร่วมมือที่มีอยู่ โดยจะตั้งอยู่บนหลักของ Peaceful Coexistence และจีนจะไม่ครอบงำประเทศอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีส่วนที่เปิดให้นักวิชาการที่เป็นคลังสมองจากประเทศต่างๆ ได้เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว โดยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มด้วยกัน คือ โอกาสและข้อท้าท้าย, ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ, ความร่วมมือทางด้านความมั่นคง, ความร่วมมือทางด้านวัฒนธรรม และอนาคตและข้อเสนอแนะทางนโยบาย

ผศ.ดร.ร่มเย็น เสนอความคิดเห็นในฐานะนักวิชาการจากไทย กรณีข้อเสนอของจีนว่าควรมีประชาคมชะตากรรมร่วมหรือเป้าหมายร่วม โดยจีนย้ำว่าจะตั้งอยู่บนฐานของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติภาพ ไม่แทรกแซงเรื่องการเมืองและไม่เป็นการสร้างเงื่อนไขในเชิงเศรษฐกิจ ว่า เป็นเรื่องท้าทายต่อสถาปัตยกรรมหรือระเบียบโลกที่มีอยู่พอสมควร เมื่อจีนมีเงื่อนไขเฉพาะที่ผลักดันนโยบายดังกล่า สิ่งที่สำคัญที่สุดคือไทยควรจะมองเรื่องนี้อย่างไร

“การจะใช้ชะตากรรมร่วมให้เป็นประโยชน์จะต้องทำอย่างไร สิ่งที่ได้เสนอไปคือจะต้องมีการแจกแจงว่าประชาคมชะตากรรมร่วมหรือเป้าหมายร่วมคืออะไร แล้วจะต้องเปิดโอกาสให้ประเทศที่เกี่ยวข้องได้มาแจกแจงหรือกำหนดนิยามร่วมกันถึงเป้าหมายร่วมคืออะไร โดยพิจารณาถึงคามแตกต่างของประเทศต่างๆ ที่จะเข้าร่วมด้วย และจีนควรอยู่ในบทบาทของผู้ประสานงานไม่ใช่ผู้นำ ทำหน้าที่ประสานงานให้เกิดประชาคมดังกล่าวขึ้นจริง อย่างมีความยืดหยุ่นจริง ครอบคลุมจริง เสมอภาคจริง ไม่มีการครอบงำ และสุดท้ายได้ขอให้ตระหนักถึงประเด็นที่ว่าโลกได้เข้าสู่ระเบียบโลกแบบหลายขั้วอำนาจ ไม่ใช่แค่ไม่ซ้ายก็ขวาอีกต่อไปแล้ว” ผศ.ดร.ร่มเย็น กล่าว ซึ่งต่อไปจะมีการกำหนดกลุ่มนักวิชาการเพื่อศึกษาประเด็นนี้ร่วมกัน

  • 1978 ครั้ง