เมื่อวันศุกร์ที่ 20 กันยายน 2567 องค์การบริหาร องค์การนักศึกษา นำโดย นางสาวประกายแก้ว ยิ้มแย้ม นายกองค์การบริหาร องค์การนักศึกษา พร้อมด้วยนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง รวมทั้งหมด 16 คน เข้าร่วมกิจกรรมอ่านสารสันติภาพและสงบนิ่งร่วจิตอธิษฐาน 1 นาที เนื่องในโอกาสวันสันติภาพสากล (21 กันยายน) ณ ห้อง D1-301 อาคารศูนย์อาหารและกิจกรรมนักศึกษา มฟล. โดยจัดขึ้นพร้อมอับองค์กรนักศึกษาในสถานศึกษา รวมถึงหน่วยงาน หรือองค์กรต่าง ๆ ทั่วประเทศ มีวัตถุประสงค์ คือ 1.เพื่อปลูกฝังวัฒนธรรมแห่งสันติภาพให้เกิดการตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมกันสร้างและส่งเสริมสันติภาพ 2.เพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดความปรองดอง สมัครสมานสามัคคี และความสงบสุขเริ่มต้นจากระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน หน่วยงาน สถานศึกษา ไปสู่สังคม ประเทศชาติ และโลก 3.เพื่อสร้างพลังเชิงบวกและสร้างสรรค์ที่ให้ความสาคัญกับสันติภาพให้เกิดขึ้นและเติบโตอย่างยั่งยืน 4.เพื่อราลึกและส่งแรงจิตอธิษฐานให้เกิดสันติภาพและความปรองดองให้เกิดขึ้นกับตนเอง ครอบครัว สังคม ประเทศชาติ และโลก
กิจกรรมนี้มีความเป็นมา คือ องค์การสหประชาชาติกาหนดให้วันที่ 21 กันยายน ของทุกปี เป็นวันสันติภาพสากล (International Day of Peace) เพื่อให้ทุกคนทั่วโลกได้ตระหนักถึงการงดใช้ความรุนแรงทั้งต่อมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการใช้ความรุนแรงต่อร่างกายและจิตใจ เนื่องจากประวัติศาสตร์โลกที่ผ่านมา ได้เกิดสงคราม และความรุนแรงซึ่งนาไปสู่ความสูญเสียนับครั้งไม่ถ้วน แม้กระทั้งในปัจจุบันนี้ ก็ยังมีความรุนแรงเกิดขึ้นทั่วโลก ตั้งแต่ปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน ไปจนถึงปัญหาระหว่างประเทศ เราควรส่งเสริมแนวทางสันติวิธีเพื่อใช้ในการแก้ปัญหา และร่วมกันปลูกฝังจิตสานึกและวัฒนธรรมแห่งสันติภาพให้เกิดขึ้นตั้งแต่ในจิตใจ ไปสู่บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กร หน่วยงาน สังคม ประเทศชาติ และโลก
ทางมูลนิธิสหพันธ์สันติภาพสากล ประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนในฐานะที่ปรึกษาทั่วไปของสภาเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Economic and Social Council หรือ UNECOSOC) มีความตระหนักและปรารถนาเป็นอย่างยิ่งในการสร้างกิจกรรมและความร่วมมือกันเพื่อนามาซึ่ง “สันติภาพ” โดยสนับสนุนจุดมุ่งหมาย 6 ข้อของวันสันติภาพสากล อันได้แก่
1. เคารพต่อชีวิตและศักดิ์ศรีของแต่ละบุคคล โดยไม่มีการแบ่งแยกด้วยอคติและความเกลียดชัง
2. ไม่ใช้ความรุนแรงในทุกรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
3. ร่วมสร้างสังคมแบ่งปันอย่างมีน้าใจ ลดการแบ่งแยกและการกดขี่ไม่ว่าจะโดยเหตุผลทางฐานะทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง เชื้อชาติ หรือความเชื่อ
4. เคารพเสรีภาพในการแสดงออก และยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่อยู่ในกรอบของความเคารพให้เกียรติต่อผู้อื่นและส่วนรวม
5. ดาเนินชีวิตอย่างมีความรับผิดชอบ ให้ความเคารพต่อทุกชีวิตในโลก และรักษาสมดุลของระบบนิเวศน์ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6. สร้างความสมานฉันท์ เคารพต่อหลักการประชาธิปไตย ให้โอกาสทุกคนและทุกฝ่ายมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียม