เมื่อวันเสาร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2566 ณ ศาลากลางจังหวัดเชียงรายหลังเก่า คณะทำงานโครงการการจัดมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) ประกอบด้วย สำนักวิชาศิลปศาสตร์ ศูนย์บริการวิชาการ และพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มน้ำโขง ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เชียงราย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดการเสวนาเรื่อง “ศาลากลางเชียงรายหลากหลายเรื่องเล่า” ซึ่งเป็นกิจกรรมทางการศึกษาภายใต้โครงการดังกล่าว โดยได้รับเกียรติจาก นายญาณาฤทธิ์ หนสมสุข รองปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายเป็นประธานเปิดกิจกรรม และผู้ร่วมวงเสวนาประกอบด้วย
กิจกรรมการศึกษาในครั้งนี้ มีผู้ที่สนใจจำนวน 120 คน เข้าร่วมรับฟังของข้อมูลสำคัญของ ศาลากลางหลังแรก อันเป็นสัญลักษณ์ของความก้าวหน้าในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่ตะวันตกมาบรรจบกับเชียงราย
รศ.ดร.พลวัฒ กล่าวว่า ศาลากลาง จ.เชียงราย (หลังเก่า) เป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นในช่วงคริสศตวรรษที่ 19 โดยมีความทันสมัยของโลกตะวันตกที่อยู่ตรงศูนย์กลางของเมือง และเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์รัชกาลที่ 5 ซึ่งพระองค์เคยเสด็จพระราชดำเนินในงานเบียนนาเลที่ประเทศอิตาลีถึง 2 ครั้งด้วย จึงถือเป็นนิมิตรหมายที่ดีมากที่ได้การจัดเสวนา ณ สถานที่แห่งนี้
อาจารย์อภิชิต กล่าวว่า ในอดีตเชียงรายขึ้นกับสยามภายใต้การปกครองของเชียงใหม่อีกชั้นหึ่ง กระทั่งมีพัฒนาการจนได้รับการยกฐานะเป็นจังหวัดเมื่อปี 2458 ดังนั้นการที่มีข้อความเขียนตรงอาคารศาลากลาง จ.เชียงราย (หลังเก่า) ว่าปี 2443 ตนจึงเห็นว่าขัดแย้งเพราะตอนนั้นยังเป็นจังหวัดพายัพเหนือและขึ้นกับเชียงใหม่อยู่ ส่วนปี 2443 เป็นปีแรกที่นายแพทย์วิลเลี่ยม เอ.บริกส์ แพทย์ชาวอเมริกัน มาถึงเชียงราย จึงเชื่อว่ายังไม่มีอาคารหลักนี้แน่นอน ส่วนหลักฐานที่พบคือปี 2445 เจ้าหน้าที่ตรวจราชการแผ่นดินจากส่วนกลางเข้าไปตรวจพื้นที่และเข้าพบข้าหลวงและเจ้าเมืองจนพบว่าที่ทำการเดิมของผู้บริหารเมืองเชียงรายทรุดโทรม จึงจะสร้างสถานที่แห่งใหม่แต่มีไม้ไม่เพียงพอจึงแสดงว่าปี 2443 ต่อมาปี 2453 จะมีการสร้างโรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊คในเชียงรายก็ได้แจ้งไปยังสหรัฐอเมริกาว่าในเชียงรายยังไม่มีอาคารใดใหญ่โตเลย จนถึงปี 2457 ก็มีหลักฐานจากชาวต่างชาติว่ายังไม่มีการก่อสร้าง กระนั้นมีศาลากลางจังหวัดที่เหมือนกันหรือเป็นคู่แฝดที่ จ.นครพนม ตนจึงสันนิฐานว่าที่ จ.เชียงราย สร้างพร้อมกันในปี 2458 แต่ก็ยังเกิน 100 ปี กระนั้นก็เป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่จะตรวจว่าสร้างเมื่อไหร่ต่อไป ส่วนในอนาคตตนเห็นว่าควรพัฒนาให้เป็นพิพิธภัณฑ์เมืองและหอจดหมายเหตุ เพราะปัจจุบันการหาข้อมูลประวัติศาสตร์ทำได้ยากเพราะทุกวันนี้หากจะหาต้องเดินทางไปที่กรุงเทพฯ และหาได้ยากอีกด้วย นอกจากนี้สามารถเป็นสถานที่เก็บรวมรวมโบราณวัตถุหลักฐานต่างๆ ได้อีกด้วย
น.ส.กฤติยา กล่าวว่า ถึงแม้จะมีข้อถกเถียงว่าศาลากลาง จ.เชียงราย (หลังเก่า) สร้างขึ้นเมื่อปีใด แต่ก็สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 โดยมีความทันสมัยแตกต่างจากในอดีต รวมทั้งมีอนุสาวรีย์รัชกาลที่ 5 ด้วย จึงกลายเป็นหมุดหมายสำคัญของ จ.เชียงราย ได้ต่อไป
นายพิสันต์ กล่าวว่า อาคารศาลากลาง จ.เชียงราย (หลังเก่า) ผ่านการใช้งานมาอย่างยาวนานและเคยใช้ถวายการรับใช้รัชกาลที่ 6 และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง กระทั่งปี 2545 มีการขยายกระทรวงเป็น 20 กระทรวง ก็ได้เป็นสำนักงานวัฒนธรรม จ.เชียงราย แห่งแรกโดยใช้อาคารชั้น 1-2 เป็นสำนักงาน ต่อมาเมื่อย้ายไปอยู่ที่อื่นทาง อบจ.เชียงราย ได้ขอใช้พื้นที่และพัฒนาจนสามารถใช้จัดกิจกรรมต่างๆ ปัจจุบันเหลืออาคารลักษณะนี้ในประเทศไทยเพียง 2 หลังคือที่ จ.เชียงราย และ จ.นครพนม เท่านั้น
นอกจากนี้ มฟล. ยังมีกำหนดจัดกิจกรรมการเสวนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "สิ่งอันตรธานที่ต้องประสงค์" ในวันเสาร์และอาทิตย์ที่ 25 - 26 พฤศจิกายน 2566 ณ ร้านเรียวกังคาเฟ่ กิจกรรมการเสวนา เรื่อง "ความลับของเชียงแสน" ในวันอาทิตย์ที่ 10 ธันวาคม 2566 ณ อำเภอเชียงแสน และกิจกรรมการเสวนา เรื่อง "ทุกพื้นที่มีความโซเมีย" ในวันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม 2566 ณ บ้านสิงหไคล อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย