อาจารย์ มฟล. ได้รับการจัดอันดับอยู่ในกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำระดับโลก “World’s Top 2% Scientists” ประจำปี 2023

หมวดหมู่ข่าว: ข่าวเด่น

เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2566 มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) เปิดเผยข้อมูลรายชื่อนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการอ้างอิงสูงที่สุดใน Top 2% ของโลก ในสาขาวิชาต่างๆ แบ่งออกเป็น 22 สาขาหลัก 174 สาขาย่อยตามมาตรฐานการจัดหมวดหมู่ของ Science-Metrix การคัดเลือกและจัดอันดับนี้ประเมินจากการวิเคราะห์ผลกระทบงานวิจัยจากการอ้างอิงบทความที่ตีพิมพ์จากฐานข้อมูล Scopus ตั้งแต่ปี 1960–2022 โดยใช้ตัวชี้วัดที่หลากหลาย (citations, h-index, co-authorship adjusted hm-index, citations to papers in different authorship positions and a composite indicator (c-score))

โดยแบ่งรายชื่อนักวิทยาศาสตร์และการจัดอันดับนักวิทยาศาสตร์ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มผลกระทบการอ้างอิงตลอดชีพสูงที่สุด (career-long citation impact) ตั้งแต่ปี 1996 ถึงสิ้นปี 2022
2. กลุ่มผลกระทบการอ้างอิงเฉพาะปี 2022 สูงที่สุด (citation impact during the single calendar year 2022) 

สำหรับ ผลการจัดอันดับประจำปี 2022 มีคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงติดอันดับจำนวน 9 ท่าน เพิ่มขึ้นจากปี 2021 จำนวน 2 ท่าน โดยในจำนวนนี้มีนักวิจัย 1 ท่านที่ติดอันดับทั้งจำแนกตามกลุ่มผลกระทบการอ้างอิงตลอดชีพสูงที่สุด และกลุ่มผลกระทบการอ้างอิงเฉพาะปี 2022 สูงที่สุด

กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำระดับโลก “World’s Top 2% Scientists” ประเภท กลุ่มผลกระทบการอ้างอิงตลอดชีพสูงที่สุด 
1. Prof. Dr. Kevin D. Hyde อาจารย์ประจำสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ และหัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยเชื้อรา 

กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำระดับโลก “World’s Top 2% Scientists” ประเภทอ้างอิงเฉพาะปี 2022
1. Prof. Dr. Kevin D. Hyde สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ และหัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยเชื้อรา 
2. รองศาสตราจารย์ ดร.สาโรจน์ รอดคืน สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
3. Dr. Ruvishika Shehali Jayawardena สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
4. รองศาสตราจารย์ ดร.อรวรรณ สุวรรณทอง สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเคมีประยุกต์
5. อาจารย์ ดร.ศรัญยภัทร บุญมี สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
6. Dr.Thilini Chethana Kandawatte Wedaralalage สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
7. ดร.ชญานาถ ภูคำศักดิ์ดา นักวิจัยศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านการวิจัยเชื้อรา
8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกชัย ชูเกียรติโรจน์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พุทธรักษ์ ชมนันติ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ

ที่มา : https://elsevier.digitalcommonsdata.com/datasets/btchxktzyw/6 

  • 2143 ครั้ง
  • #สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ #สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร #ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านการวิจัยเชื้อรา