มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) โดยส่วนประชาสัมพันธ์ ร่วมมือกับนักวิจัย จัดทำคาแรคเตอร์การ์ตูนจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัย เพื่อค้นหาวิธีนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบใหม่ๆ เพื่อให้ผลงานวิจัยให้น่าสนใจและหวังให้ได้รับการเผยแพร่ให้ประชาชนได้รับทราบเป็นวงกว้างมากยิ่งขึ้น
.
เอนตะมีบา เชียงรายเอนซิส การค้นพบโปรโตซัวชนิดใหม่
ทีมนักวิจัยจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร นำโดย ดร.เอลินี เกนตะกากิ อาจารย์ประจำสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ ได้ศึกษาค้นพบ โปรโตซัวชนิดใหม่ ที่แยกได้จากระบบทางเดินอาหารของปลาไหล และได้ตั้งชื่อว่า ‘Entamoeba Chiangraiensis’ หรือเอนตะมีบา
.
เชียงรายเอนซิส ตามสถานที่ได้ค้นพบ ทั้งนี้การค้นพบดังกล่าวมีความสำคัญในวงวิชาการเนื่องจากเป็นครั้งแรกที่มีรายงานพบในปลาไหลและมีประโยชน์ต่อการศึกษาวิวัฒนาการของ Entamoeba ซึ่งบางชนิดก่อให้เกิดโรคบิดในมนุษย์ การค้นพบดังกล่าวได้รับการยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญระดับโลกและตอบรับให้ตีพิมพ์ในวารสาร Parasitology
.
เห็ดมุกสิกรัตน์ เห็ดพันธุ์ใหม่ของโลก
ทีมนักวิจัยศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านการวิจัยเชื้อรา นำโดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.เควิน เดวิด ไฮด์ พบเห็ดหูหนูชนิดใหม่ของโลก ซึ่งให้ชื่อว่า Auricularia thailandica thailandica Bandara & K.D. Hyde, sp. nov. ซึ่งจัดเป็นเห็ดสกุลเห็ดหูหนู ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ‘thailandica’
.
เมื่อทดลองเพาะในระดับห้องปฏิบัติการพบว่า สามารถเพาะได้ให้ผลิตผลที่ดีและมีคุณภาพ และเป็นเห็ดประเภทเห็ดกินได้ เตรียมเผยแพร่ให้แก่เกษตรกรไทยต่อไป ทั้งได้ขอพระราชทานชื่อสามัญ จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งได้รับพระราชทานชื่อว่า ‘มุสิกรัตน์’
.
ออนเซ็นเชียงราย การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวน้ำพุร้อนเชียงราย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุษบา สิทธิการ อาจารย์ประจำสำนักวิชาการจัดการ จัดทำโครงการนวัตกรรมการท่องเที่ยวน้ำพุร้อนในอารยธรรมล้านนา เป็นชุดโครงการวิจัยที่มีรูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนตลอดกระบวนการวิจัยและพัฒนา ผลจากงานวิจัยทำให้มีเส้นทางการท่องเที่ยวน้ำพุร้อนจำนวน 4 เส้นทางและสินค้าเกี่ยวเนื่องได้รับการสร้างคุณค่าและมูลค่าร่วมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวน้ำพุร้อน จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์ คือ ชาอู่หลงสับปะรด ผ้าหมักโคลนน้ำแร่ สครับสมุนไพร DIY สครับข้าวก่ำน้ำแร่ และแฮนครีมสมุนไพรกาขาว, ได้ Master Brand ภาพลักษณ์ แหล่งท่องเที่ยวและสินค้าเชื่อมโยง คือ ‘จันธารา’ สำหรับแหล่งท่องเที่ยวน้ำพุร้อนป่าตึง อำเภอแม่จัน และ ‘เทวี’ สำหรับแหล่งท่องเที่ยวน้ำพุร้อนทุ่งเทวี ต.บ้านโป่ง
.
คน-ผึ้ง-ป่า สินค้าชุมชนช่วยกองทุนรักษาป่า
หมู่บ้านห้วยหินลาดใน จังหวัดเชียงราย พื้นที่เสี่ยงไฟป่า แต่มีการจัดการไฟป่าอย่างยั่งยืนบนฐานความรู้ของชุมชนด้วยการจัดการทรัพยากรที่มีการแบ่งปันเพื่อคนทุกคนด้วยการทำแนวกันไฟ การร้างระบบการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ยั่งยืน การรักษาป่าต้นน้ำจากภูมิปัญญาของกลุ่มชาติพันธุ์ปะกาเกอะญอ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง ได้เข้าร่วมทำงานกับชุมชนในการสร้างอาชีพสร้างรังผึ้งที่มีความหมายจากบทกวี และนิทาน เรื่องการรักษาป่าต้นน้ำเพื่อใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์ พัฒนาอาหารจากฐานภูมิปัญญาที่ทำจากน้ำผึ้งและส่วนประกอบจากผลผลิตท้องถิ่น สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจด้วยการผลิตลิปบาล์มจากน้ำผึ้งและไขผึ้ง เป็นสินค้าชุมชนช่วยกองทุนรักษาป่าเพิ่มรายได้เพื่อใช้ทำกิจกรรมในวงกว้างมากขึ้น
.
หม้อนึ่งแอนด์เดอะแก๊งค์ การศึกษาคุณภาพอากาศ
สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ เริ่มเก็บตัวอย่างฝุ่นขนาดเล็กตั้งแต่ปี 2558 ด้วยเครื่องเก็บตัวอย่างฝุ่น ที่นักศึกษาและผู้คนที่เดินทางไปมามักเรียกติดปากว่า ‘หม้อนึ่ง’ บ้าง ‘ศาลพระภูมิ’ บ้าง แต่ที่จริงคือ เครื่องเก็บตัวอย่างฝุ่น ขนาด 2.5 ไมครอน (PM 2.5), เครื่องเก็บตัวอย่างฝุ่น ขนาด 10 ไมครอน แบบปริมาณสูง (High Volume P.M 10) และเครื่องเก็บตัวอย่างฝุ่น ขนาด 100 ไมครอน แบบปริมาณสูง (High Volume TSP) เก็บข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการประชาสัมพันธ์ให้กับนักศึกษาและบุคลากร รวมทั้งประชาชนในพื้นที่รอบข้างมหาวิทยาลัย ในการป้องกันตนเองจากสุขภาพของปัญหาหมอกควัน ซึ่งจะมาในช่วงเดือนมกราคมถึงพฤษภาคมของทุกปี โดยสถิติของแต่ละปี มีดังต่อไปนี้
.
ปี 2558 วัดปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอนได้สูงสุดที่ 236.42 ไมโครกรัมต่อลูกบาศ์กเมตร (เกินค่ามาตรฐานที่ 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศ์กเมตร)
ปี 2561 วัดปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอนได้สูงสุดที่ 210 ไมโครกรัมต่อลูกบาศ์กเมตร (เกินค่ามาตรฐานที่ 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศ์กเมตร)
ปี 2563 ได้มีการวัดปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนเป็นครั้งแรก และได้ค่าฝุ่นละอองขนาด 2.5 ไมครอนสูงสุด อยู่ที่ 57.74 ไมโครกรัมต่อลูกบาศ์กเมตร (เกินค่ามาตรฐานที่ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศ์กเมตร)
.
ทั้งยังได้ใช้เป็นข้อมูลสำหรับงานวิจัยต่างๆ ของสำนักวิชา เช่น งานวิจัยในหัวข้อ “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสุขภาพของมนุษย์ในเอเชีย: ผลกระทบในปัจจุบัน ความเสี่ยงในอนาคต และประโยชน์ต่อสุขภาพจากนโยบายการบรรเทาผลกระทบ” (Climate Change and Human Health in ASIA: Current Impacts, Future Risks, and Health Benefits of Mitigation Policies) โดยการร่วมมือกันของหลายมหาวิทยาลัยในไทย ร่วมกับทีมวิจัยประเทศญี่ปุ่น และออสเตรเลีย เพื่อเป็นการเก็บรวบรวมและนำมาศึกษาเกี่ยวกับฐานข้อมูลทางด้านสุขภาพ ภูมิอากาศ มลพิษอากาศรายวัน และข้อมูลผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยนำข้อมูลดังกล่าวไปจัดอยู่ในรูปแบบ Grid data พร้อมทั้งใช้สถิติและสมการทางคณิตศาสตร์ในการทำนายผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อสุขภาพของประชาชน เป็นต้น
.
M-Care : ระบบตรวจสอบ และเฝ้าระวังฝุ่นออนไลน์
เนื่องจากสถานการณ์หมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือในบางช่วงเวลา มีค่าฝุ่น PM 2.5 เกินมาตรฐาน บางครั้งมีผลกระทบต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจของประชาชนในพื้นที่ ด้วยความตระหนักถึงปัญหาและความห่วงใยต่อสถานการณ์ดังกล่าว ศูนย์ความเป็นเลิศด้านปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีก่อกำเนิด (AIE) จึงได้พัฒนานวัตกรรม อุปกรณ์ตรวจวัดคุณภาพอากาศ (M-Care) ขึ้น เพื่อเป็นข้อมูลแจ้งเตือนให้ประชาชนได้รับทราบค่าฝุ่นแบบออนไลน์ และนำไปติดตั้งให้กับชุมชนรอบมหาวิทยาลัยและทั่วจังหวัดเชียงราย
.
หมอกควัน-ไฟป่า ศูนย์ศึกษาและปฏิบัติการเพื่อลดปัญหาการเกิดไฟป่าหมอกควันในประเทศไทยและในภูมิภาค
ศูนย์ศึกษาและปฏิบัติการเพื่อลดปัญหาการเกิดไฟป่าหมอกควันในประเทศไทยและในภูมิภาค
ของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ดำเนินงาน 3 ส่วนด้วยกัน อันดับแรกเป็นเรื่องของการวัดฝุ่นด้วยเครื่อง M-Care ที่ศูนย์ความเป็นเลิศด้านปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีก่อกำเนิด (AIE) พัฒนาขึ้น เพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบข้อมูลหรือคุณภาพอากาศได้, จัดทำห้องปลอดฝุ่นให้กับศูนย์เด็กเล็กให้เทศบาลตำบลท่าสุดเพื่อเป็นห้องปลอดฝุ่นต้นแบบ และช่วยชุมชนในการดับไฟป่า โดยมหาวิทยาลัยจัดหาอุปกรณ์ดับไฟป่า อย่างเครื่องพ่นลมหรืออุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยสนับสนุนให้