มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) ได้เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัย ในงานนิทรรศการ ‘มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2564 (Thailand Research Expo 2021)’ ระหว่างวันที่ 22 - 26 พฤศจิกายน 2564 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ โดยได้นำเสนอผลงานวิจัย ในหัวข้อ ‘มฟล. นวัตกรรมการแพทย์และสมุนไพรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน’ กลุ่มเรื่อง ‘งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน’ จำนวน 4 ผลงาน ได้แก่
1. โครงการพัฒนาเทคโนโลยีการปลูกขมิ้นชันปลอดโรคและสารสำคัญสูงด้วยระบบ Substrate Culture เจ้าของผลงานคือ ผศ.ดร.ระวิวรรณ์ เจริญทรัพย์
2. เครื่องฟอกอากาศด้วยน้ำ เชื่อมต่อกับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง Water-based Air Purifier Connected with the Internet of Things Technology เจ้าของผลงานคือ ผศ.นพ.อานนท์ จำลองกุล
3. นวัตกรรมประดิษฐ์เครื่องมือแพทย์ชนิดฝังในจากน้ำยางพาราไทย เจ้าของผลงานคือ รศ.นพ.สิทธิพร บุณยนิตย์ และ4. นวัตกรรมการประดิษฐ์เครื่องมือแพทย์ พุกข้าวประดูก เจ้าของผลงานคือ รศ.นพ.สิทธิพร บุณยนิตย์
.
โดยแต่ละผลงานมีรายละเอียด ดังนี้ 1. การพัฒนาเทคโนโลยีการปลูกขมิ้นชันปลอดโรคและสารสำคัญสูงด้วยระบบ substrate culture โดย ผศ.ดร.ระวิวรรณ์ เจริญทรัพย์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ร่วมกับศูนย์วิจัยพืชสวนจังหวัดเชียงราย ได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาการปลูกขมิ้นชันปลอดโรคและให้สารสำคัญสูงในระบบ substrate culture ภายใต้โรงเรือน ต่อการเจริญเติบโต ปริมาณผลผลิต และปริมาณสารสำคัญของขมิ้นชัน พบว่าขมิ้นชันสายพันธุ์ตรัง 84-2 ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
.
และนำมาปลูกในวัสดุทดแทนดินคือ กาบมะพร้าวสับ และจัดการธาตุอาหารให้เหมาะสม ทำให้ได้ต้นกล้าพันธุ์ที่ปลอดโรค ปราศจากโรคพืช (โรครากเน่า) และให้ปริมาณสารสำคัญที่สูง โดยได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกดังกล่าวรวมถึงการประยุกต์ใช้ AI Platform ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ เพื่อให้สามารถปลูกและควบคุมคุณภาพการเพาะปลูกขมิ้นชันคุณภาพสูง ตามความต้องการของตลาดได้
.
นอกจากนี้ยังมีการพัฒนากระบวนการสกัดสารเคอร์คูมินอยด์ (Curcuminoids) ซึ่งเป็นสารสำคัญในขมิ้นชันให้มีความเข้มข้นสูง ด้วยวิธีต่างๆ เช่น การสกัดด้วยวิธีการไมโครเวฟ (Microwave extraction) การสกัดด้วยคาร์บอนไดออกไซน์ (Super critical fluid extraction, SFE) เพื่อนำมาวิเคราะห์หาปริมาณสารเคอร์คูมินอยด์ในขมิ้นชันด้วยวิธีการโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง (HPLC) เพื่อค้นหากระบวนการสกัดที่ให้ปริมาณและความเข้มข้นสูง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
.
2. นวัตกรรมการประดิษฐ์เครื่องมือแพทย์ชนิดฝังในจากน้ำยางพาราไทย (Para Rubber Medical Devices) โดย รศ.นพ. สิทธิพร บุณยนิตย์ นวัตกรรมการประดิษฐ์วัสดุทางการแพทย์ชนิดฝังในจากน้ำยางพาราไทย เป็นการวิจัยพัฒนาเพื่อหาวิธีถนอมน้ำยางพาราสดโดยไม่ใช้แอมโมเนีย จากนั้นพัฒนาวิธีเตรียมน้ำยางพาราโปรตีนต่ำ เพื่อลดดารก่อภูมิแพ้ในน้ำยางพาราก่อนที่จะนำไปประดิษฐ์เครื่องมือแพทย์ ประเภทฝังในร่างกายผู้ป่วย สำหรับทดแทนอวัยวะ โดยการแปรรูปน้ำยางพาราโปรตีนต่ำผสมสารตัวเติมที่ปลอดภัยกับสิ่งมีชีวิตแลัวขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ เช่น พังผืดเทียม สำหรับซ่อมแซมกล้ามเนื้อเรียบที่ชำรุดเสียหายหรือบาดเจ็บ หลอดเลือดเทียม เอ็นเทียม กล้ามเนื้อเทียม ปลอกประสาท เป็นต้น
.
ศึกษาลักษณะเฉพาะและสมบัติวัสดุ และความเข้ากันได้ในสิ่งมีชีวิต (Biocompatibility) ตามมาตรฐานการทดสอบวัสดุทางการแพทย์ ASTM 1076-97,F 981-99, F1983-99, F1185-88 , F1581-99,มอก.538-2548 และ มอก. 625-2559 แล้วจึงนำไปทดสอบทางคลินิกในอาสาสมัครมนุษย์ในอนาคต หากโครงการบรรลุเป้าหมายจะสามารถดำเนินการจดสิทธิบัตรและต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ ผลิตผลงานวิชาการคุณภาพสูง ซึ่งจะเป็นการยกระดับนวัตกรรมวัสดุทางการแพทย์จากวัตถุดิบทางการเกษตรของไทย เพิ่มมูลค่าให้กับยางพารา และลดการนำเข้าเครื่องมือแพทย์จากต่างประเทศ ตลอดจนสามารถแข่งขันกับตลาดต่างประเทศใด้ในอนาคต
.
3. เครื่องฟอกอากาศด้วยน้ำ เชื่อมต่อกับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง อ.นพ.อานนท์ จำลองกุล เป็นที่น่าสนใจว่าปัญหามลภาวะทางอากาศนั้นมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน ความมุ่งหมายของการประดิษฐ์อุปกรณ์นี้ คือ เพื่อใช้แก้ไขปัญหาฝุ่นควันในพื้นที่กึ่งเปิด ช่วยลดอัตราการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ ลดต้นทุนการผลิตเครื่องฟอกอากาศโดยการใช้น้ำมาเป็นตัวกลางสำหรับการฟอกอากาศเพื่อลดต้นทุนการนำเข้าแผ่นกรอง HEPA filter จากต่างประเทศ และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบโดยนักวิชาการชาวไทย ส่วนประกอบหลักของเครื่องฟอกอากาศนี้ ได้แก่ เครื่องอัดอากาศ ถังน้ำ ท่อลม อุปกรณ์ป้องกันการเกิดฟองอากาศ ชุดกรองน้ำ ชุดตรวจวัดคุณภาพอากาศ ซึ่งนำสัญญาณป้อนกลับมาประมวลผลการทำงานของระบบฟอกอากาศ ระบบแสดงผลมลภาวะทางอากาศติดตั้ง ณ ตัวเครื่อง และระบบแสดงผลมลภาวะทางอากาศบนโทรศัพท์เคลื่อนที่
.
4. พุกข้าวกระดูก (Rice- Cow Bone Based Anchor) รศ.นพ. สิทธิพร บุณยนิตย์ พุกข้าวกระดูก เป็นวัสดุที่ผลิตจากข้าวเจ้าผสมกระดูกวัวและสารตัวเติมปรับปรุงสมบัติจนได้วัสดุที่มีความเหนียวที่เหมาะสำหรับใช้ร่วมกับตะปูเกลียวยึดตรึงกระดูก โดยพุกจะเพิ่มความสามารถการยึดเกาะกับกระดูกให้แน่นกระชับ เสริมความแข็งแรงแบบฉับพลันให้กับกระดูกผู้ป่วยที่อ่อนแอ เปราะบาง เช่น โรคกระดูกพรุน พุกข้าวกระดูกสามารถขึ้นรูปได้หลายขนาดตามความเหมาะสมกับการใช้งาน เช่น พุกจิ๋ว (microanchor) สำหรับงานทันตกรรม พุกใหญ่ (macroanchor) สำหรับงานศัลยกรรม เช่น ออร์โธ (ortho) ประสาท (neuro) ศัลยกรรมตกแต่ง (Plastic surgery) เป็นต้น ศึกษาลักษณะเฉพาะและสมบัติวัสดุ และความเข้ากันได้ในสิ่งมีชีวิต (Biocompatibility) ตามมาตรฐานการทดสอบวัสดุทางการแพทย์ ASTM 1076-97,F 981-99, F1983-99, F1185-88 และ F1581-99
#ThailandResearchExpo2021