หลักสูตร
ภาษาไทย: | หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมหลังการเก็บเกี่ยว |
ภาษาอังกฤษ: | Master of Science Program in Postharvest Technology and Innovation |
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย: | ชื่อเต็ม : | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีและนวัตกรรมหลังการเก็บเกี่ยว) |
ชื่อย่อ : | วท.ม. (เทคโนโลยีและนวัตกรรมหลังการเก็บเกี่ยว) |
ภาษาอังกฤษ: | ชื่อเต็ม : | Master of Science (Postharvest Technology and Innovation) |
ชื่อย่อ : | M.Sc. (Postharvest Technology and Innovatiojn) |
ปรัชญา / วัตถุประสงค์
ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมหลังการเก็บเกี่ยวมุ่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จากการบูรณาการองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมหลังการเก็บเกี่ยว โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลร่วมกับการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง (Learning by doing) ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม เพิ่มศักยภาพการเผยแพร่ผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ เพื่อเป้าหมายในการลดสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว เพิ่มมูลค่าของผลิตผลเกษตรให้เป็นสินค้ามูลค่าสูงนำไปสู่ความมั่นคงและความยั่งยืนทางอาหาร
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ มีศักยภาพในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและสร้างสรรค์นวัตกรรมหลังการเก็บเกี่ยว
- เพื่อผลิตบุคลากรที่แก้ไขปัญหาและสามารถบูรณาการองค์ความรู้ งานวิจัยด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมหลังการเก็บเกี่ยว เป็นที่ยอมรับระดับชาติหรือนานาชาติ
- เพื่อผลิตพลเมืองโลกที่สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง มีความตระหนักในกฎระเบียบของสังคมและจริยธรรมอันดี ปรับตัวได้ในสังคมพหุวัฒนธรรม
แนวทางในการประกอบอาชีพ
- นักวิจัยในหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเกษตร
- ผู้ควบคุมงานระดับหัวหน้าฝ่าย/หัวหน้าแผนก ในโรงคัดบรรจุ โรงงานอุตสาหกรรมอาหาร
- นักวิชาการในหน่วยงานภาครัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- อาจารย์ในสถาบันการศึกษาทุกระดับที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวของภาครัฐและเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- ผู้ประกอบการในกลุ่มธุรกิจผลิตผลสดทั้งตลาดในประเทศและส่งออก
- องค์กรระหว่างประเทศเช่น Food and Agriculture Organization (FAO)
ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร
- PLO1: ประยุกต์ใช้แนวคิดและทฤษฎีด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อยกระดับสินค้าเกษตรท้องถิ่นให้เป็นสินค้าเกษตรมูลค่าสูง
- PLO2: ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการข้อมูลเพื่องานวิจัย
- PLO3: สร้างผลงานวิจัยหรือสร้างสิ่งใหม่ด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวในระดับชาติหรือนานาชาติ
- PLO4: ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคม จริยธรรมทางวิชาการและการวิจัย
- PLO5: แสดงออกถึงการเป็นนักพัฒนาเชิงบูรณาการด้านเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมหลังการเก็บเกี่ยวตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน
ค่าธรรมเนียม
- แผน 1.1
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 140,000 บาท
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 35,000 บาท
- แผน 1.2
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 180,000 บาท
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 45,000 บาท
โครงสร้างหลักสูตร
แผน 1.1 | |
| จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต (หลักสูตร 2 ปี) |
| | 1. หมวดวิทยานิพนธ์ | 36 หน่วยกิต |
| | | |
แผน 1.2 | |
| จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต (หลักสูตร 2 ปี) |
| | 1. หมวดวิชาบังคับ | 15 หน่วยกิต |
| | 2. หมวดวิชาเลือก | 9 หน่วยกิต |
| | 3. หมวดวิทยานิพนธ์ | 12 หน่วยกิต |
ข้อมูลอ้างอิง
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมหลังการเก็บเกี่ยว พ.ศ. 2567
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 6 ก.พ. 67