หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสุขภาพชายแดน

ปริญญาโท สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

หลักสูตร

ภาษาไทย: หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสุขภาพชายแดน
ภาษาอังกฤษ: Master of Public Health Program in Border Health Management

 

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย: ชื่อเต็ม : สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสุขภาพชายแดน)
ชื่อย่อ : ส.ม. (การจัดการสุขภาพชายแดน)
ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม : Master of Public Health (Border Health Management)
ชื่อย่อ : M.P.H. (Border Health Management)

 

ปรัชญา / วัตถุประสงค์

ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตจึงมุ่งผลิตบัณฑิตโดยใช้ทฤษฎีสร้างความรู้ใหม่โดยผู้เรียนเอง (ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์) เพื่อให้นักศึกษาระดับปริญญาโท สามารถบูรณาการร่วมกันระหว่างศาสตร์ทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพกับศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งมีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การศึกษาวิจัย ภายใต้บริบทพื้นฐานด้านสาธารณสุข โดยมีคุณธรรมจริยธรรม อีกทั้งยังสามารถริเริ่มการศึกษาวิจัยนวัตกรรมที่สามารถแก้ไขปัญหาเร่งด่วนอย่างเป็นระบบและพัฒนางานด้านสาธารณสุขต่อไป ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับการฝึกฝนพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมและความเป็นผู้นำ ในฐานะบทบาทผู้นำทางด้านสาธารณสุข สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรทั้งหมดของประเทศไทย มีความสามารถในการเป็นผู้นำในทีมสหสาขาวิชาชีพและความหลากหลายวัฒนธรรม ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาที่จะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในระดับท้องถิ่น ภูมิภาค ระดับชาติ และ ระดับนานาชาติ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อผลิตมหาบัณฑิตสาธารณสุขให้มีความรู้ ความสามารถ มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานโดยมีลักษณะที่พึงประสงค์ดังนี้ 

  1. มีภาวะผู้นำที่สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในด้านสาธารณสุขและการวิจัยเพื่อพัฒนางานด้านสาธารณสุขชุมชนชายแดนโดยยึดหลักกฎหมาย คุณธรรมและจริยธรรมในวิชาชีพ
  2. ออกแบบและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนชายแดนที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 
  3. บริหารจัดการงานด้านสาธารณสุขชุมชนชายแดนได้เท่าทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงระดับชาติและนานาชาติโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

 

แนวทางในการประกอบอาชีพ

มหาบัณฑิตสาขาสาธารณสุขศาสตร์ สามารถเป็นผู้ประกอบอาชีพในตำแหน่งต่างๆ ดังนี้

  1. นักพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนแบบยั่งยืนในระดับชาติและนานาชาติ
  2. นักจัดการสุขภาพข้ามแดนและข้ามวัฒนธรรมในบริบทที่ซับซ้อน
  3. นักจัดการสุขภาพทั้งในองค์กรภาครัฐ และเอกชน 
  4. นักวิชาการสาธารณสุข/นักวิเคราะห์นโยบายและแผนด้านสาธารณสุข ทั้งในองค์กรภาครัฐ และเอกชน
  5. นักวิจัยทางด้านสาธารณสุข หรือวิทยาศาสตร์สุขภาพ
  6. อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา ในสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ หรือสาขาวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ  

 

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร

  • PLO 1    ออกแบบระบบการจัดการสาธารณสุขระหว่างประเทศ ในสถานการณ์วิกฤตสุขภาพ
  • PLO 2   ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนและจริยธรรมการวิจัย
  • PLO 3   เป็นนักสร้างและพัฒนาความเข้มแข็งเครือข่ายสาธารณสุขระหว่างประเทศ

 

  • ผลลัพธ์การเรียนรู้ สำหรับ แผน 1 แบบวิชาการ (แผน 1.1 และ 1.2)
    • PLO 4.1 สร้างความรู้ใหม่ วิจัย และนวัตกรรม โดยการร่วมมือรวมพลังกับสหสาขาวิชาชีพกับหน่วยงาน ระหว่างประเทศ 
  • ผลลัพธ์การเรียนรู้ สำหรับ แผน 2 แบบวิชาชีพ 
    • PLO 4.2 พัฒนาองค์ความรู้ จากการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยการร่วมมือรวมพลังกับสหสาขาวิชาชีพ  กับหน่วยงานระหว่างประเทศ

 

ค่าธรรมเนียม

จำนวน  3  ภาคการศึกษาในหลักสูตร

  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อหลักสูตร 160,500.- บาท
  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 53,500.- บาท

 

โครงสร้างหลักสูตร

แผน 1 แบบวิชาการ แผน 1.1 เน้นทำวิทยานิพนธ์  
  จำนวนหน่วยกิต    รวมตลอดหลักสูตร     36  หน่วยกิต  
    1. หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
    2. หมวดวิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต
       
แผน 1 แบบวิชาการ แผน 1.2 เน้นทำวิทยานิพนธ์และศึกษารายวิชา  
  จำนวนหน่วยกิต    รวมตลอดหลักสูตร     36  หน่วยกิต   
    1. หมวดวิชาบังคับ 21 หน่วยกิต
    2. หมวดวิชาเลือก 3 หน่วยกิต
    3. หมวดวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
       
       
แผน 2 แบบวิชาชีพ เน้นศึกษารายวิชาและค้นคว้าอิสระ  
  จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร     36  หน่วยกิต  
    1. หมวดวิชาบังคับ 27 หน่วยกิต
    2. หมวดวิชาเลือก 3 หน่วยกิต
    3. หมวดการค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต
       
       

 

ข้อมูลอ้างอิง

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสุขภาพชายแดน พ.ศ. 2567

 

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 24 ต.ค. 67