หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร

ปริญญาเอก สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร

หลักสูตร

ภาษาไทย: หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร
ภาษาอังกฤษ: Doctor of Philosophy Program in Innovative Food Science and Technology

 

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย: ชื่อเต็ม : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (นวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร)
ชื่อย่อ : ปร.ด. (นวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร)
ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม : Doctor of Philosophy (Innovative Food Science and Technology)
ชื่อย่อ : Ph.D. (Innovative Food Science and Technology)

 

ปรัชญา / วัตถุประสงค์

ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนตามแนวการศึกษาแบบคอนสตรัคติวิสต์  (Constructivist Theory)  โดยมีความเชื่อว่า 
การเรียนรู้เป็นกระบวนการลงมือกระทำที่เกิดขึ้นในแต่ละบุคคล ซึ่งความรู้ต่างๆ จะถูกสร้างขึ้นด้วยตัวของผู้เรียนเอง โดยใช้ข้อมูลที่ได้รับมาใหม่ร่วมกับข้อมูลหรือความรู้เดิม และประสบการณ์ที่มีอยู่แล้ว มาสร้างความรู้ใหม่ แนวคิดใหม่ หรือนวัตกรรมจากการเรียนรู้ด้วยตนเอง 

ดังนั้น หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร เป็นหลักสูตรที่มุ่งสร้างบุคลากรให้มีความรู้เฉพาะทางในเชิงลึกด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร มุ่งค้นคว้า พัฒนางานวิจัยที่สามารถประยุกต์เชื่อมโยงสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ สร้างนวัตกรรมอาหาร โดยเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าเพื่อการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน สร้างความมั่นคงทางอาหาร เพื่อยกระดับและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารของประเทศ มีความเป็นเลิศทางวิชาการและมีทักษะทางวิชาชีพ เป็นที่ยอมรับในระดับสากล


วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

มุ่งผลิตบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารที่มีศักยภาพในระดับสากล สามารถบูรณาการความรู้และทักษะวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารเชิงลึก เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมที่นำไปสู่การขับเคลื่อนพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารของไทยให้เข้มแข็ง โดยเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าเพื่อการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน สร้างความมั่นคงทางอาหารได้ ตลอดจนแสดงออกได้ตามบทบาทหน้าที่ของตนเองและปฏิบัติตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพนักวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร จรรยาบรรณทางวิชาการและจริยธรรมการทำวิจัยได้อย่างถูกต้อง

 

แนวทางในการประกอบอาชีพ

  1. อาจารย์หรือนักวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารหรือสาขาที่เกี่ยวข้องในหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ภายในและต่างประเทศ
  2. นักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารหรือสาขาที่เกี่ยวข้องในหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ภายในและต่างประเทศ
  3. ผู้จัดการฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในโรงงานอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร
  4. ผู้เชี่ยวชาญหรือที่ปรึกษางานเชิงนโยบายด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร
  5. ผู้จัดการโรงงาน หัวหน้าฝ่ายผลิต หัวหน้าฝ่ายประกันคุณภาพ ผู้จัดการบริหารผลิตภัณฑ์ (ฝ่ายวางแผนการตลาด) หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง
  6. ผู้ประกอบการอิสระหรือเจ้าของธุรกิจ

 

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร

  • PLO1 แสดงออกได้ตามบทบาทหน้าที่ของตนเองและปฏิบัติตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพนักวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร จรรยาบรรณทางวิชาการและจริยธรรมการทำวิจัยได้อย่างถูกต้อง
  • PLO2 สร้างองค์ความรู้ใหม่ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางวิชาการในระดับสากล
  • PLO3 ทำวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร โดยใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าเพื่อการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน สร้างความมั่นคงทางอาหารได้
  • PLO4 ถ่ายทอดองค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นได้ตามระดับของการนำไปใช้ประโยชน์
  • PLO5 เรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นผู้นำทางความคิด และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ในองค์กรระดับชาติและนานาชาติ
  • PLO6 เลือกใช้เครื่องมือทางสถิติและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย 
  • PLO7 นำเสนอและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางวิชาการอย่างสร้างสรรค์ในระดับสากลได้

 

ค่าธรรมเนียม

  • แบบที่ 1.1 (จำนวน 6 ภาคการศึกษาในหลักสูตร)
    • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อหลักสูตร 210,000 .-  บาท 
    • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 35,000 .-  บาท
  • แบบที่ 2.1 (จำนวน 6 ภาคการศึกษาในหลักสูตร)
    • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อหลักสูตร 210,000 .-  บาท 
    • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 35,000 .-  บาท
  • แบบที่ 2.2 จำนวน 8 ภาคการศึกษาในหลักสูตร
    • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อหลักสูตร 280,000 .-  บาท 
    • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 35,000 .-  บาท 

 

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ 1.1  
  จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต (หลักสูตร 3 ปี)
    1. หมวดดุษฎีนิพนธ์ 48 หน่วยกิต
    2. หมวดวิชาบังคับ (ให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิต)  
       
แบบ 2.1  
  จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต
  จำนวนหน่วยกิตรายวิชาเรียน 12 หน่วยกิต
    1. หมวดดุษฎีนิพนธ์ 36 หน่วยกิต
    2. หมวดวิชาบังคับ 6 หน่วยกิต
    3. หมวดวิชาเลือก 6 หน่วยกิต
       
แบบ 2.2  
  จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 72 หน่วยกิต
  จำนวนหน่วยกิตรายวิชาเรียน 24 หน่วยกิต
    1. หมวดดุษฎีนิพนธ์ 48 หน่วยกิต
    2. หมวดวิชาบังคับ 15 หน่วยกิต
    3. หมวดวิชาเลือก 9 หน่วยกิต
       

 

ข้อมูลอ้างอิง

อ้างอิงจาก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชานวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารพ.ศ. 2565

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 19 ก.ค. 65