หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม

ปริญญาตรี สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

หลักสูตร

ภาษาไทย: หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science Program in Environmental Health


ชื่อปริญญา

ภาษาไทย: ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรบัณฑิต (อนามัยสิ่งแวดล้อม)
ชื่อย่อ : วท.บ. (อนามัยสิ่งแวดล้อม)
ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม : Bachelor of Science (Environmental Health)
ชื่อย่อ : B.Sc. (Environmental Health)


ปรัชญา / วัตถุประสงค์

ปรัชญาของหลักสูตร
วิชาชีพอนามัยสิ่งแวดล้อมเป็นวิชาชีพที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการจัดการปัจจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อคุณภาพ ชีวิตที่ดีของประชาชน โดยนักอนามัยสิ่งแวดล้อมที่มีศักยภาพนั้น ต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับการฝึกปฏิบัติ ดังนั้น หลักสูตรฯจึงนำปรัชญาการศึกษาพิพัฒนนิยม (Progressivism) ซึ่งเป็นปรัชญาการศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์ตรง โดยผู้สอนจะต้องจัดสภาพการเรียนรู้ให้เอื้อต่อการศึกษาของผู้เรียน ให้อิสระ เสรีภาพในการเรียน การค้นคว้า การทดลอง คำนึงถึงความสนใจ ความถนัด และความต้องการของผู้เรียนในการนำองค์ความรู้จากหลักสูตรฯ ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตและในการทำงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนาประสบการณ์และความรู้โดยไม่หยุดนิ่ง เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม โดยจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้นักศึกษาสามารถแก้ไขปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพได้ด้วยตนเอง ผ่านรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง อาทิ Project Based Learning และ Research Based  Learning ซึ่งจะนำไปสู่บัณฑิตที่มีความสามารถในการเลือกวิธีการที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ตลอดจนประเมินปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถดังต่อไปนี้

  1. มีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม สุขภาพ การพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม (BCG Model)  และเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง 
  2. สามารถแก้ไขปัญหาอนามัยสิ่งแวดล้อมได้ 
  3. ปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับข้อบังคับ มาตรฐาน และกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม  
  4. มีแนวคิดด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ร่วมกับแนวคิดเศรษฐกิจแบบองค์รวม (BCG Model)
     

จุดเด่นของหลักสูตร

  1. รับรองคุณภาพการศึกษาระดับอาเซียน (AUN-QA)
    หลักสูตรได้รับการรับรองจากเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network Quality Assurance: AUN-QA) การันตีมาตรฐานการเรียนการสอนและคุณภาพระดับสากล
  2. ตอบสนองความต้องการในตลาดแรงงาน
    หลักสูตรออกแบบมาเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีทักษะครบถ้วน ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการกว่า 10,000 แห่งในประเทศไทย ซึ่งต้องการเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับวิชาชีพที่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. เน้นมาตรฐานสากล
    หลักสูตรยึดหลักการขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 เพื่อสร้างบัณฑิตที่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีจริยธรรมและคุ้มครองสิทธิแรงงาน
  4. โอกาสระดับนานาชาติ
    การร่วมมือทางวิชาการและการวิจัยกับสถาบันชั้นนำ เช่น University of Michigan ช่วยพัฒนาความสามารถในระดับสากลของบัณฑิต พร้อมด้วยการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตลอดหลักสูตร เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถทำงานในองค์กรข้ามชาติและอุตสาหกรรมในต่างประเทศ
  5. ส่งเสริมการเรียนรู้ภาคปฏิบัติ
    หลักสูตรเน้นการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง และการบูรณาการความรู้เชิงทฤษฎีกับการปฏิบัติ เพื่อตอบโจทย์ปัญหาด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสถานประกอบการ
  6. พัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
    หลักสูตรส่งเสริมทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ การแก้ปัญหา และความเป็นผู้นำ พร้อมทั้งปลูกฝังจิตสำนึกด้านความปลอดภัยและความรับผิดชอบต่อสังคม
  7. ศักยภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    ด้วยการเติบโตของอุตสาหกรรมในภูมิภาค บัณฑิตจากหลักสูตรนี้จึงมีโอกาสขยายความเชี่ยวชาญสู่ตลาดแรงงานระดับภูมิภาคได้อย่างกว้างขวาง
     

แนะนำหลักสูตร คลิก


แนวทางประกอบอาชีพ

  1. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ
  2. ผู้ประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยตามข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย พ.ศ. 2566
  3. นักวิชาการด้านความปลอดภัยแรงงาน ที่ปรึกษาหรือผู้ตรวจประเมินด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  4. อาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ


ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร

  • PLO1: ประยุกต์ใช้แนวคิด ทฤษฎี ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม สุขภาพ การพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม (BCG Model)  และเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง ในการทำงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม 
    • Sub-PLO 1.1 อธิบายแนวคิด ทฤษฎี ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เกี่ยวข้องกับ งานอนามัยสิ่งแวดล้อม  
    • Sub-PLO 1.2  อธิบายแนวคิด ทฤษฎี ทางด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับงานอนามัยสิ่งแวดล้อม  
    • Sub-PLO 1.3 อธิบายแนวคิด ทฤษฎี การพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม (BCG Model)ที่เกี่ยวข้องกับงานอนามัยสิ่งแวดล้อม 
    • Sub-PLO 1.4 ประยุกต์ใช้แนวคิด ทฤษฎี ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม สุขภาพ การพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม (BCG Model) และเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง ในงานอนามัยสิ่งแวดล้อม 
  • PLO2: เลือกกระบวนการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ
    • Sub-PLO 2.1 วิเคราะห์สถานการณ์และปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ 
    • Sub-PLO 2.2 เลือกกระบวนการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ 
  • PLO3: ปฏิบัติตามข้อบังคับ มาตรฐาน และกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม  
  • PLO4: สามารถริเริ่มแนวคิดการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ร่วมกับแนวคิดเศรษฐกิจแบบองค์รวม (BCG Model) (Environmental Health Initiator) 
    • Sub-PLO 4.1 สามารถทำงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ร่วมกับสหวิชาชีพ 
    • Sub-PLO 4.2 สามารถสร้างสรรค์ แนวคิดในการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ร่วมกับแนวคิดเศรษฐกิจแบบองค์รวม 


ค่าธรรมเนียม

  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 240,000.- บาท
  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 30,000.- บาท


โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 141 หน่วยกิต (หลักสูตร 4 ปี)  
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 24 หน่วยกิต
     
2. หมวดวิชาเฉพาะ 111 หน่วยกิต
  1) กลุ่มพื้นฐานวิชาชีพ 19 หน่วยกิต
  2) กลุ่มวิชาชีพขั้นกลาง 23หน่วยกิต
  3) กลุ่มวิชาชีพอนามัยสิ่งแวดล้อม 55หน่วยกิต
  4) กลุ่มวิชาชีพบูรณาการ 8 หน่วยกิต
  4) กลุ่มวิชาชีพเลือก 6 หน่วยกิต
       
3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
       


ข้อมูลอ้างอิง

ปรับปรุงข้อมูลบนเว็บไซต์ล่าสุด 6 ก.พ. 67