หลักสูตร
ภาษาไทย: | หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต |
ภาษาอังกฤษ: | Bachelor of Public Health Program |
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย: | ชื่อเต็ม : | สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต |
ชื่อย่อ : | ส.บ. |
ภาษาอังกฤษ: | ชื่อเต็ม : | Bachelor of Public Health |
ชื่อย่อ : | B.P.H. |
ปรัชญา / วัตถุประสงค์
ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสููตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิตได้กำหนดปรัชญาการจัดการศึกษาไว้ว่า "การเรียนรู้จากการปฏิบัติ" ซึ่งจะเน้นให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงผ่านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เข้าไปศึกษาในชุมชนโดยมุ่งส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทำให้นักศึกษาได้มีทักษะความเป็นผู้นำทางด้านความรอบรู้ทางด้านสุขภาพโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยสำหรับการสื่อสารให้กับทุกกลุ่มในชุมชน
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อผลิตบัณฑิตสาขาสาธารณสุขศาสตร์ที่มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คุณธรรมจริยธรรม เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ และสามารถปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนและสากล ภายใต้สังคมสูงวัย ทั้งระดับบุคคล ครอบครัว และระบบสุขภาพชุมชนภายใต้พหุวัฒนธรรม มีความรู้และทักษะในการวินิจฉัย จัดการและแก้ไขปัญหาสุขภาพชุมชนแบบองค์รวมอย่างยั่งยืน โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีในการสร้างงานวิจัยและนวัตกรรม สามารถเลือกใช้วิธีการสื่อสารสุขภาพในรูปแบบต่างๆ ทั้งเชิงวิชาการและเชิงวิชาชีพในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งสามารถทำงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ได้ ภายใต้พลวัตสุขภาพโลก รวมถึงเข้าใจกรอบความคิดการเป็นผู้ประกอบการอิสระ
แนวทางประกอบอาชีพ
นักวิชาการสาธารณสุขในหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ดังนี้
- นักวิชาการสาธารณสุขในหน่วยงานส่วนกลางได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวง กรมควบคุมโรค กรมอนามัย สำนัก และกองต่างๆ
- นักวิชาการสาธารณสุขในหน่วยงานส่วนภูมิภาค ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล
- นักวิชาการสาธารณสุขในหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง เทศบาลนคร และองค์การบริหารส่วนตำบล
- นักวิเคราะห์นโยบายและแผนด้านสาธารณสุข ทั้งในหน่วยงานของรัฐ และเอกชน
- นักวิชาการสาธารณสุข หรือผู้ช่วยนักวิจัยในหน่วยงานด้านสาธารณสุขในระดับองค์การระหว่างประเทศ
ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร
- PLO 1: มีวินัย ซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม และปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน
- PLO 2: สามารถอธิบายหลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางพื้นฐานวิชาชีพสาธารณสุข การสร้างงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรม การสาธารณสุขและพลวัตสุขภาพโลก การเป็นผู้ประกอบการอิสระ และศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
- PLO 3: มีทักษะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาความรอบรู้ทางด้านสุขภาพ วิเคราะห์ สังเคราะห์ปัญหาสุขภาวะชุมชนอย่างเป็นระบบ ที่ทันกับพลวัตสุขภาพโลก วินิจฉัยและออกแบบการแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืน ผ่านกระบวนการเชิงวิทยาศาสตร์/การวิจัย/พัฒนานวัตกรรมสุขภาพที่บูรณาการสหวิทยาการ
- PLO 4: มีทักษะการประสานงานที่มีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบ เคารพสิทธิ ให้เกียรติผู้อื่นในการทำงานเป็นทีมกับสหสาขาวิชาชีพข้ามวัฒนธรรม
- PLO 5: มีทักษะการวิเคราะห์ทางชีวสถิติ มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัยในการสืบค้นข้อมูลด้านการสาธารณสุขและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และสื่อสารสุขภาพเชิงวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนที่สามารถใช้ภาษาต่างประเทศได้
- PLO 6: สามารถปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนและสากล ภายใต้สังคมสูงวัย ทั้งระดับบุคคล ครอบครัว และพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนแบบยั่งยืนภายใต้พหุวัฒนธรรม
ค่าธรรมเนียม
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 200,000.- บาท
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 25,000.- บาท
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 142 หน่วยกิต (หลักสูตร 4 ปี) |
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 30 หน่วยกิต |
| | |
2. หมวดวิชาเฉพาะ | 106 หน่วยกิต |
| 1) กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ | 31 หน่วยกิต |
| 2) กลุ่มวิชาชีพเฉพาะ | 65 หน่วยกิต |
| 3) การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ | 10 หน่วยกิต |
| | | |
3. หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 หน่วยกิต |
| | | |
ข้อมูลอ้างอิง
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 20 มี.ค. 66