หลักสูตร
ภาษาไทย: | หลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต |
ภาษาอังกฤษ: | Bachelor of Applied Thai Traditional Medicine Program |
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย: | ชื่อเต็ม : | การแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต (การแพทย์แผนไทยประยุกต์) |
ชื่อย่อ : | พทป.บ. |
ภาษาอังกฤษ: | ชื่อเต็ม : | Bachelor of Applied Thai Traditional Medicine |
ชื่อย่อ : | B.ATM. |
ปรัชญา / วัตถุประสงค์
การจัดการศึกษาสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ มุ่งเน้นอนุรักษ์และพัฒนาการแพทย์แผนไทยซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชาติให้คงอยู่อย่างยั่งยืนและเจริญก้าวหน้า โดยพัฒนาบัณฑิตให้เป็นผู้ปฏิบัติงานเวชปฏิบัติสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ที่มีความรู้ ความสามารถในการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ โดยใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นฐานในการวิจัยและพัฒนาศาสตร์การแพทย์แผนไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและ/หรือนานาชาติ มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถ ดังนี้
- แสดงออกซึ่งคุณธรรม จริยธรรม ทัศนคติที่ดีต่อสังคม และเป็นพลเมืองโลกที่ดี ตลอดจนมีความเข้าใจมนุษย์และชุมชน
- ประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านภาษา ด้านเทคโนโลยี การสื่อสารเชิงตัวเลขในการปฏิบัติงาน
- ประยุกต์ใช้ความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ และวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ในการปฏิบัติงาน
- มีทักษะการประกอบเวชปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ ตลอดจนการเป็นผู้ประกอบการด้านวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์
- มีทักษะการปฏิบัติงานในระดับคลินิก โดยการบูรณาการศาสตร์การแพทย์แผนไทยกับศาสตร์แขนงอื่นในการปฏิบัติงาน
- มีทักษะการคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหาและเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง และพัฒนางานแพทย์แผนไทยด้วยรูปแบบการศึกษาวิจัย
- มีทักษะการเป็นผู้นำและทำงานร่วมกับสหวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- มีทักษะการทำงานในสังคมพหุวัฒนธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปรัชญาทางการศึกษาของหลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์ (EDUCATION PHILOSOPHY)
ปฏิบัตินิยม (Pragmatism) เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กระตุ้นให้แสวงหาความรู้ที่แท้จริงมาจากกระบวนการคิดวิเคราะห์ การลงมือปฏิบัติจริง และเรียนรู้ด้วยตนเองจากประสบการณ์ตรง
จุดเด่นของหลักสูตร
- ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถ ด้านการรักษา และดูแลสุขภาพ ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ผสานกับองค์ความรู้ด้าน วิทยาศาสตร์การแพทย์ การแพทย์พื้นบ้านล้านนา และ การแพทย์ทางเลือก อื่นๆ
- ส่งเสริมให้นักศึกษา ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม และงาน วิจัย ติดตามองค์ความรู้ใหม่ เพื่อพัฒนาต่อยอดความรู้ ได้อย่างมีระบบ
- ส่งเสริมให้นักศึกษาแสดงสมรรถนะด้านการบริหารจัดการธุรกิจสุขภาพ บนเวทีระดับชาติและ/หรือนานาชาติ เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการทางสุขภาพ
- มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้และพัฒนา ทักษะทางวิชาชีพ ได้แก่ ศูนย์นวัตกรรมสมุนไพรครบวงจร โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โรงงานผลิตยาสมุนไพรมาตรฐาน GMP/PICs อาคารแปรรูปวัตถุดิบ และ สวนพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาราชา
แนวทางประกอบอาชีพ
- ทำงานหน่วยงานของทางราชการในตำแหน่งแพทย์แผนไทยและตำแหน่งอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในหน่วยงาน เช่น โรงพยาบาลของรัฐ กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานราชการอื่นๆ
- ทำงานในหน่วยงานภาคเอกชนที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับการการแพทย์แผนไทยในสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ
- ประกอบธุรกิจด้านคลินิกการแพทย์แผนไทยประยุกต์ การผลิตยาสมุนไพร และงานด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเช่น ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ เป็นต้น
ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร
- PLO1: ประพฤติตน และปฏิบัติหน้าที่ด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย มีความรับผิดชอบ เมตตากรุณา เสียสละ และมีจิตสำนึกต่อสังคมในฐานะพลเมืองโลก
- PLO2: สามารถอธิบายหลักการ แนวคิด และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์ทางเลือก และการบริหารจัดการธุรกิจสุขภาพได้
- PLO3: มีทักษะในการร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมและงานวิจัย ผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และบูรณาการความรู้ศาสตร์การแพทย์แผนไทยกับศาสตร์การแพทย์อื่นในระบบบริบาลสุขภาพได้
- PLO4: มีภาวะผู้นำ ตลอดจนมีความรับผิดชอบในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องในการพัฒนาตนเอง พร้อมทั้งมีศักยภาพในการทำงานร่วมกับสหวิชาชีพได้ในสังคมพหุวัฒนธรรม
- PLO5: มีทักษะในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสม ในการรวบรวมข้อมูลประมวลผล การสื่อสารและการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ
- PLO6: มีความสามารถทำเวชปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์
ค่าธรรมเนียม
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 264,000.- บาท
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 33,000.- บาท
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 150 หน่วยกิต (หลักสูตร 4 ปี) |
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 30 หน่วยกิต |
| | |
2. หมวดวิชาเฉพาะ | 114 หน่วยกิต |
| 1) กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ | 62 หน่วยกิต |
| 2) กลุ่มวิชาชีพบังคับ | 52 หน่วยกิต |
| | | |
3. หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 หน่วยกิต |
| | | |
ข้อมูลอ้างอิง
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 2 ก.ค. 64