หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์

ปริญญาตรี สำนักวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลประยุกต์

หลักสูตร

ภาษาไทย: หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Engineering Program in Software Engineering


ชื่อปริญญา

ภาษาไทย: ชื่อเต็ม : วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมซอฟต์แวร์)
ชื่อย่อ : วศ.บ. (วิศวกรรมซอฟต์แวร์)
ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม : Bachelor of Engineering (Software Engineering)
ชื่อย่อ : B.Eng. (Software Engineering)


ปรัชญา / วัตถุประสงค์

ปรัชญาของหลักสูตร
วิศวกรรมซอฟต์แวร์เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางวิศวกรรมในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ตั้งแต่การรวบรวม ระบุความต้องการจากผู้ใช้งาน การกำหนดขอบเขต การออกแบบ การพัฒนา 

การทดสอบ การบริหารจัดการโครงการ การควบคุมคุณภาพ และความมั่นคงของระบบซอฟต์แวร์ มีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยนำซอฟต์แวร์เข้ามาจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล  เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งภาคการผลิตและบริการ เพื่อให้พร้อมรับมือกับภาวะที่พลิกผันต่าง ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต หลักสูตรนี้เชื่อว่า ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism) ซึ่งเป็นหนึ่งในทฤษฎีการเรียนรู้ของมนุษย์ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบและพัฒนาหลักสูตร ให้บัณฑิตได้คิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) จากการสร้างมโนทัศน์และฝึกแก้ไขปัญหา (Problem Solving) อย่างเป็นระบบ โดยจัดการเรียนการสอนด้วยโครงงานเป็นฐาน (Project based learning)

หลักสูตรนี้มุ่งผลิตวิศวกรซอฟต์แวร์ที่คิดอย่างสร้างสรรค์ ใช้กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ ในการวิเคราะห์บูรณาความรู้เพื่อแก้ปัญหาที่หลากหลาย สามารถทำงานร่วมกับคนในองค์กรสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม ปฏิบัติงานได้จริง มีความรู้ ความเข้าใจในวิชาชีพ สามารถจัดการกับปัญหา มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ เสียสละ เป็นแบบอย่างที่ดี ตอบสนองความต้องการบุคลากรที่มีคุณภาพในภาคอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในการพัฒนา


วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ จากสถานการณ์จริงที่สามารถสร้างซอฟต์แวร์หรือระบบสารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์หรือพัฒนาสังคม มีจริยธรรมและยึดมั่นในจรรยาบรรณ สามารถทำงานร่วมในสังคมพหุวัฒนธรรม มีทักษะศตวรรษที่ 21 ก้าวทันเทคโนโลยีที่พลิกผัน สามารถพัฒนาและต่อยอดองค์ความรู้ด้วยตนเอง บูรณาการกับศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง


แนวทางประกอบอาชีพ

  1. วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer) 
  2. นักวิเคราะห์ระบบหรือนักออกแบบระบบ (System Analyst/Designer)
  3. วิศวกรความต้องการ (Requirements Engineer)
  4. นักทดสอบระบบซอฟต์แวร์ (Software Tester)
  5. ผู้จัดการโครงการซอฟต์แวร์ (Software Project Manager)
  6. วิศวกรด้านคำปรึกษา (Solution/Sales Engineer)
  7. ผู้ตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Auditor)
  8. ผู้จัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Manager)
  9. ผู้ประกอบการธุรกิจซอฟต์แวร์ (Software Business Entrepreneur)
  10. นักพัฒนาส่วนเชื่อมต่อผู้ใช้งาน (UX/UI Designer)
  11. นักเขียน/พัฒนาโปรแกรม (Programmer/Developer)
  12. นักพัฒนาโซลูชันระดับองค์กร (Enterprise Solution Developer)
  13. สถาปนิกซอฟต์แวร์ (Software Architect)
  14. นักพัฒนาเว็บ/อุปกรณ์เคลื่อนที่ (Web/Mobile Developer)
  15. นักพัฒนาแพลตฟอร์ม (Full-stack Developer)
  16. นักประกันคุณภาพซอฟต์แวร์ (Software Quality Assurance)
  17. วิศวกรปรับปรุงกระบวนการซอฟต์แวร์ (Software Process Improvement Engineer)
  18. วิศวกรกระบวนพัฒนาอัตโนมัติ (DevOps Engineer)


ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร

  • PLO1    มีความซื่อสัตย์ เคารพความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น และรับผิดชอบต่อหน้าที่ คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม มีความรับผิดชอบในวิชาชีพ
  • PLO2     อภิปรายเชื่อมโยงสาระที่สำคัญของเทคโนโลยีและวิธีการทางซอฟต์แวร์ การเป็นผู้ประกอบการ เทคโนโลยีกำเนิดใหม่สำหรับวิศวกรรมซอฟต์แวร์ กับศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องภายใต้เทคโนโลยีที่พลิกผัน
  • PLO3     ออกแบบโครงสร้างสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์หรือระบบสารสนเทศ โดยบูรณาการศาสตร์ของเทคโนโลยีและวิธีการทางซอฟต์แวร์ร่วมกับศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสมภายใต้เทคโนโลยีที่พลิกผัน
  • PLO4     มีมีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี และปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม
  • PLO5     มีทักษะวิเคราะห์เชิงตัวเลข เลือกใช้ชุดเครื่องมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์ และสามารถสื่อสารโดยใช้ภาษาอังกฤษ
  • PLO6     สร้างซอฟต์แวร์หรือระบบสารสนเทศที่ก้าวทันกับเทคโนโลยีที่พลิกผัน และสามารถนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์หรือพัฒนาสังคมได้


ค่าธรรมเนียม

  1. ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 240,000.- บาท
  2. ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 30,000.- บาท


โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 126 หน่วยกิต (หลักสูตร 4 ปี)  
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
     
2. หมวดวิชาเฉพาะ 89 หน่วยกิต
  2.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 9 หน่วยกิต
  2.2 กลุ่มวิชาชีพบังคับ 63 หน่วยกิต
  2.3 กลุ่มวิชาชีพเลือก 9 หน่วยกิต
  2.4 กลุ่มวิชาประสบการณ์ภาคสนาม 9 หน่วยกิต
     
3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
       


ข้อมูลอ้างอิง