หลักสูตร
ภาษาไทย: | หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาโลจิสติกส์เกษตรและอาหาร |
ภาษาอังกฤษ: | Bachelor of Science Program in Agri-Food Logistics |
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย: | ชื่อเต็ม : | วิทยาศาสตรบัณฑิต (โลจิสติกส์เกษตรและอาหาร) |
ชื่อย่อ : | วท.บ. (โลจิสติกส์เกษตรและอาหาร) |
ภาษาอังกฤษ: | ชื่อเต็ม : | Bachelor of Science (Agri-Food Logistics) |
ชื่อย่อ : | B.Sc. (Agri-Food Logistics) |
ปรัชญา / วัตถุประสงค์
ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาโลจิสติกส์เกษตรและอาหาร มุ่งสร้างบัณฑิตตามปรัชญาการศึกษา การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง (Learning by doing) ให้บัณฑิตมีความรู้ความสามารถในด้านเทคโนโลยีการจัดการผลิตผลเกษตร และอาหาร ร่วมกับการจัดการโลจิสติกส์ เพื่อแก้ปัญหาและเพิ่มมูลค่าในโซ่อุปทานเกษตรและอาหารอย่างยั่งยืน ตลอดจนสามารถประยุกต์ความรู้และทักษะการทำงานได้เหมาะสม สอดคล้องกับกฎระเบียบและมาตรฐานสากล
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถดังนี้
- มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว และการจัดการโลจิสติกส์ ที่กี่ยวข้องกับโซ่อุปทานเกษตรและอาหาร
- สามารถแก้ไขปัญหาในโซ่อุปทานเกษตรและอาหาร โดยคำนึงถึงผลต่อสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
- สามารถปฏิบัติตามกฏระเบียบ ข้อกำหนด และมาตรฐานสากล ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตร อาหาร และโลจิสติกส์
- มีทัศนคติเชิงบวก พร้อมปรับตัวและทำงานได้ตลอดโซ่อุปทานเกษตรและอาหาร
จุดเด่นของหลักสูตร
- สามารถจัดแผนการศึกษาให้เรียนจบได้ภายใน 3.5 ปี
- สร้างทักษะการดำเนินธุรกิจและเป็นผู้ประกอบการระหว่างเรียน
- โอกาสสร้างเครือข่าย และการฝึกปฏิบัติงานในต่างประเทศ
- พัฒนาทักษะที่ต้องการตามตลาดแรงงาน
แนวทางประกอบอาชีพ
บัณฑิตสาขาวิชาโลจิสติกส์เกษตรและอาหาร สามารถประกอบอาชีพได้ทั้งหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับโซ่อุปทานเกษตรและอาหาร ได้แก่
- เจ้าหน้าที่ฝ่ายวางแผนการผลิต
- เจ้าหน้าที่ฝ่ายประกันและควบคุมคุณภาพ
- เจ้าหน้าที่ฝ่ายการนำเข้าและส่งออก
- เจ้าหน้าที่การจัดการคลังสินค้า
- เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิจัยและพัฒนา
- เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการโซ่อุปทาน
- ผู้ประกอบการอิสระ หรือเจ้าของธุรกิจด้านเกษตรและอาหาร
- ข้าราชการ หรือพนักงานราชการ
- นักวิชาการ หรือนักวิจัยด้านอุตสาหกรรมเกษตร และโลจิสติกส์
ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร
- PLO 1: ประยุกต์ใช้ แนวคิด ทฤษฎีทางด้านวิทยาศาตร์ การจัดการโลจิสติกส์ ในการทำงานในโซ่อุปทานเกษตรและอาหาร
- PLO 2: เลือกใช้เทคโนโลยีหรือกระบวนการ เพื่อแก้ไขปัญหา และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในโซ่อุปทานเกษตรและอาหาร
- PLO 3: เลือกใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อจัดการข้อมูล นำเสนอและสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- PLO 4: ปฏิบัติตามกฏระเบียบ ข้อกำหนด และมาตรฐานสากล ที่เกี่ยวข้องในโซ่อุปทานผลิตผลเกษตรและอาหาร
- PLO 5: แสดงออกถึงแนวคิดเชิงบูรณาการวิทยาศาสตร์ และการจัดการโลจิสติกส์ เพื่อทำงานในโซ่อุปทานเกษตรและอาหารอย่างยั่งยืน
- PLO 6: แสดงออกถึงทักษะเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถทำงานเป็นทีม ในสังคมพหุวัฒนธรรม
ค่าธรรมเนียม
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 200,000 บาท
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 25,000 บาท
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 124 หน่วยกิต (หลักสูตร 4 ปี) |
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 24 หน่วยกิต |
| | |
2. หมวดวิชาเฉพาะ | 94 หน่วยกิต |
| 1) กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ | 28 หน่วยกิต |
| 2) กลุ่มวิชาชีพบังคับ | 48 หน่วยกิต |
| 3) กลุ่มวิชาเลือก | 18 หน่วยกิต |
| | |
3. หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 หน่วยกิต |
| | | |
ข้อมูลอ้างอิง
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 6 ก.พ. 67